|
|
มุมมองข้อมูลฉบับวารสาร
|
|
|
ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน), เลขที่ฉบับ 148, ปี 2559
|
|
รหัสผู้ใช้งาน |
|
|
3.
|
ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุได้แก่ ประสบการณ์การเรียนรู้ขององค์การ ความพร้อมของทรัพยากรองค์การ ที่มีต่อปัจจัยผลได้แก่ การสร้างสรรค์ขององค์การ ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน ผลดำเนินงานองค์การโดยผ่านตัวแปรกลาง ความสามารถในการจัดการความหลากหลาย 4 ด้าน ได้แก่ การมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่าง การบูรณาการความรู้ความสามารถที่โดดเด่น ความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมโดยมีปัจจัยแทรก คือความรุนแรงของการแข่งขัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์จากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 267 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการจัดการความหลากหลายด้านการมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่าง การบูรณาการความรู้ความสามารถที่โดดเด่น ความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการสร้างสรรค์ขององค์การ 2) ความสามารถในการจัดการความหลากหลายด้านการมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่าง ความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเป็นเลิศในการดำเนินงาน 3) การสร้างสรรค์ขององค์การ และความเป็นเลิศในการดำเนินงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลดำเนินงานองค์การ 4) ความรุนแรงทางการแข่งขันไม่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์ขององค์การ ความเป็นเลิศในการดำเนินงานกับผลดำเนินงานองค์การ 5) ประสบการณ์การเรียนรู้ขององค์การและความพร้อมของทรัพยากรองค์การ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการความหลากหลาย ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ควรกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางในการบริหารงานบนพื้นฐานของคุณค่าความหลากหลาย สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ปรับเปลี่ยนองค์การให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้องค์การเกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายต่อไป
คำสำคัญ: ความสามารถในการจัดการความหลากหลาย, การสร้างสรรค์ขององค์การ, ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน, ผลดำเนินงานองค์การ, ความรุนแรงทางการแข่งขัน, ประสบการณ์การเรียนรู้ขององค์การ, ความพร้อมของทรัพยากรองค์การ, อุตสาหกรรมอาหาร
ซ่อนบทคัดย่อ
|
สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 148, 64 - 104.
Somporn Panyindee, Viroj Jadesadalug and Jantana Sansook (2016). Diversity Management Capability on Organizational Performance of Food Industry in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 148, 64 - 104.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
64 - 104
|
|
4.
|
กรอบการประเมินความพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ระดับองค์กร
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวน, ปัญจราศี ปุณณชัยยะ, วันชัย ขันตี และ สุรัตน์ โคอินทรางกูร
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการประเมินความพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับองค์กร ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายอุตสาหกรรม เช่น การผลิต การเงิน บริการ อสังหาริมทรัพย์ และค้าปลีก ผลการสำรวจพบว่า กรอบแนวคิดในการประเมินความพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับองค์กรประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคนิค (2) ระบบการรักษาความปลอดภัย (3) ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งาน (4) ด้านนโยบายองค์กร และ (5) ด้านบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กรอบแนวคิดพร้อมข้อคำถามสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการยืนยันความพร้อมอิเล็คทรอนิกส์ในองค์กรต่างๆได้
คำสำคัญ ความพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ องค์กร
ซ่อนบทคัดย่อ
|
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวน, ปัญจราศี ปุณณชัยยะ, วันชัย ขันตี และ สุรัตน์ โคอินทรางกูร (2559). กรอบการประเมินความพร้อมอิเล็กทรอนิกส์ระดับองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 148, 105 - 120.
Siriluck Rotchanakitumnual, Panjarasee Punnachaiya, Wanchai Khanti and Surat Kointarangkul (2016). E-readiness Assessment Framework: The Organizational Level. Chulalongkorn Business Review, 148, 105 - 120.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
105 - 120
|
|
|
|
|
|