|
|
มุมมองข้อมูลฉบับวารสาร
|
|
|
ปีที่ 38, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม), เลขที่ฉบับ 150, ปี 2559
|
|
รหัสผู้ใช้งาน |
|
2.
|
ศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย
พนัชกร สิมะขจรบุญ, กฤษฎา พรประภา และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบและโมเดลสมการโครงสร้างของศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย จำนวน 1,378 ฉบับ ได้รับการตอบกลับ 268 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 20.96 ของอัตราการตอบกลับ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR Management Capability; CSC) ประกอบด้วย การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สังคม ประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม การผสานประโยชน์ชุมชน ความร่วมมือกับเครือข่ายทางสังคม องค์ประกอบการวางแผนวาระทางสังคม (Corporate Social Intensiveness; CSI) ประกอบด้วย การมุ่งเน้นประเด็นทางสังคมอย่างเฉพาะเจาะจง ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร การสนับสนุนจากผู้บริหาร การสร้างการรับรู้ องค์ประกอบของคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ (Economic Intangible Value; EIV) ประกอบด้วย ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือขององค์การ โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 179.60, df = 158, p-value = .115, X2/df = 1.137, CFI = .996, RMSEA =.23) และพบว่า CSI มีอิทธิพลโดยตรงต่อ CSC (y = .88, p<.001) และEIV (y = .22, p<.001) และยังมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อผลการดำเนินงาน (Business Performance; BP) โดยมี CSC เป็นตัวแปรคั่นกลาง (Mediator) ส่วน EIV ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อBP นอกจากนี้ยังพบว่า CSC มีอิทธิพลโดยตรงต่อ EIV (? = .70, p<.001) และ BP (? = .71, p<.001) โมเดลสามารถอธิบาย CSC และ BP ได้ร้อยละ 77 และ 51 ตามลำดับ สมการโครงสร้างไม่มีความแตกต่างในด้านขนาดของกิจการ และระยะเวลาในการดำเนินงาน งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่มุ่งหวังให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างกิจการและสังคม
คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการเชิงกลยุทธ์ การสร้างคุณค่าร่วม ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
ซ่อนบทคัดย่อ
|
พนัชกร สิมะขจรบุญ, กฤษฎา พรประภา และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (2559). ศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 150, 33 - 67.
Panuschagone Simakhajornboon, Krisada Pornprapa and Viroj Jadesadalug (2016). Strategic CSR Management Capability of Food Processing Industries in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 150, 33 - 67.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
33 - 67
|
|
|
|
|
6.
|
ประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณอายุ
รัฐชัย ศีลาเจริญ, พรอนงค์ บุษราตระกูล, อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ และ สุนทรี เหล่าพัดจัน
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการให้ความรู้ทางการเงินในรูปแบบการจัดอบรม ที่มีกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง จะมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้เรื่องทางการเงิน (financial literacy) และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ เช่น ความกังวลต่อผลขาดทุนระยะสั้นและทัศคติต่อความเสี่ยง หรือไม่ โดยทำการศึกษาจากตัวอย่างที่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผ่านการตอบแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการเข้ารับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการออมเพื่อเกษียณอายุ และแผนการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ (life-path investment plan)
การศึกษาพบว่า การให้ความรู้ทางการเงินที่ได้ออกแบบไว้สามารถยกระดับความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุได้ โดยผลในการยกระดับความรู้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ในขณะที่ ผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความเสี่ยงมีความแตกต่างกันระหว่างตัวอย่างที่มีภาระทางการเงินต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า การให้ความรู้มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจลงทุนในทุกขั้นตอน กล่าวคือ การรับรู้ของสมาชิกก่อนการเข้ารับการอบรมว่าตนสามารถเลือกแผนการลงทุนได้ สามารถเพิ่มประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการเห็นด้วยกับหลักการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ การที่สมาชิกเห็นด้วยกับหลักการลงทุน ทำให้ประสิทธิผลต่อการยอมรับว่าแผนการลงทุนนี้มีความเหมาะสมกับตนสูงขึ้น การยอมรับดังกล่าวทำให้ประสิทธิผลต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนเองสูงขึ้น และการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนเองทำให้ประสิทธิผลต่อการแนะนำต่อบุคคลอื่นสูงขึ้นเช่นกัน
คำสำคัญ: การให้ความรู้ทางการเงิน, ความรู้เรื่องทางการเงิน, การออมเพื่อการเกษียณอายุ, แผนการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ
ซ่อนบทคัดย่อ
|
รัฐชัย ศีลาเจริญ, พรอนงค์ บุษราตระกูล, อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ และ สุนทรี เหล่าพัดจัน (2559). ประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณอายุ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 150, 149 - 190.
Ruttachai Seelajaroen, Pornanong Busaratrakul, Anirut Pisedtasalasai, Roongkiat Ratanabanchuen, Narongrit Assawareungpipop and Suntharee Lhaopadchan (2016). The Effectiveness of Financial Education on Making Investment Choices of Saving for Retirement. Chulalongkorn Business Review, 150, 149 - 190.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
149 - 190
|
|
|
|