|
2.
|
รูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการกับสถาบันกวดวิชาในประเทศไทย
วัฒนา โสธรวัฒนา, อมรรัตน์ ศรีวาณัติ และ เยาวภา ปฐมศิริกุล
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลความภักดีของผู้รับบริการต่อสถาบันกวดวิชาในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่เรียนสถาบันกวดวิชาที่เปิดสถาบันเดี่ยว และนักเรียนที่เรียนสถาบันกวดวิชาที่เปิดรวมกลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 520 คน รวมเป็น 1,040 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model--SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของนักเรียนกลุ่มที่เรียนสถาบันกวดวิชาที่แบบเปิดเดี่ยว และกลุ่มนักเรียนที่เรียนสถาบันกวดวิชาที่เปิดรวมกลุ่ม ได้แก่ กลยุทธ์การตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลความภักดีของผู้รับบริการต่อสถาบันกวดวิชาในประเทศไทย ของกลุ่มนักเรียนที่เรียนสถาบันแบบเปิดเดี่ยว คือ กลยุทธ์การตลาดบริการด้านการส่งเสริมการตลาดและการให้ข้อมูล การรับรู้คุณภาพบริการด้านการดูแลเอาใจใส่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ ซึ่งส่งผลความภักดีต่อสถาบันกวดวิชามากที่สุด โดยโมเดลกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีต่อสถาบันกวดวิชามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี (?2=269.67, df=121, P-value=0.000, RMSEA=0.042, SRMR=0.034, GFI=0.97, AGFI=0.93 *p<.05, **p<.01) ส่วนกลุ่มนักเรียนที่เรียนสถาบันแบบเปิดรวมกลุ่ม คือ กลยุทธ์การตลาดบริการด้านอาจารย์และพนักงาน การรับรู้คุณภาพบริการด้านการเต็มใจช่วยเหลือและให้บริการในทันที ความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลความภักดีต่อสถาบันกวดวิชามากที่สุด โดยโมเดลกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีต่อสถาบันกวดวิชามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี (?2=292.38, df=152, P-value=0.0000, RMSEA=0.037, SRMR=0.0088, GFI=0.96, AGFI=0.94 *p<.05, **p<.01)
ซ่อนบทคัดย่อ
|
วัฒนา โสธรวัฒนา, อมรรัตน์ ศรีวาณัติ และ เยาวภา ปฐมศิริกุล (2562). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการกับสถาบันกวดวิชาในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 160, 22 - 56.
Watthana Sothonwatthana, Amonrat Sriwanut and Yaowapa Pathomsirikul (2019). A Model of Service Marketing Strategy, Perceived Service Quality Affecting Customer Loyalty of Tutorial School in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 160, 22 - 56.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
22 - 56
|
|
|
|
|