1.
|
ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความต้องการซื้อประกันของประชาชน จังหวัดตรัง
ณัฏฐณิชา คงแจ่ม, จุฑามาศ รัตนพิบูลย์, รัฐฐวิชญ์ อาภาคัพภะกุล, ธวัลหทัย เกิดแก้ว, รุสณีย์ แซะบิง, สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และ วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
การประกันภัยนับเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชนให้มีความมั่นคงและมีหลักประกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางสภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันส่งผลต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยงานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความต้องการซื้อประกันภัยส่วนบุคคล โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชนในอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จากการสุ่มแบบโควตา จำนวน 400 ชุด ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความเสี่ยงมีผลต่อความต้องการซื้อทั้งประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผลกระทบจากโควิด-19 มีอิทธิพลเฉพาะต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความต้องการซื้อประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ในบริบทของข้อเสนอแนะ การส่งเสริมการรับรู้ความเสี่ยงของประชาชน
มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความต้องการซื้อประกันภัยและการสร้างหลักประกันของประชาชนผ่านมุมมองทางด้านการประกันภัย
ซ่อนบทคัดย่อ
|
ณัฏฐณิชา คงแจ่ม, จุฑามาศ รัตนพิบูลย์, รัฐฐวิชญ์ อาภาคัพภะกุล, ธวัลหทัย เกิดแก้ว, รุสณีย์ แซะบิง, สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และ วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์ (2564). ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความต้องการซื้อประกันของประชาชน จังหวัดตรัง. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 168, 1 - 20.
Nattanicha Kongjam, Jutamat Rattanapibool, Ruttawit Apacuppakul, Thawanhathai Koedkaeo, Rusnee Saebing, Sippavitch Wongsuwatt and Wipada Thaothampitak (2021). The Impact of COVID-19 on Perceived Risk and Insurance Purchase Demands of People in Trang Province. Chulalongkorn Business Review, 168, 1 - 20.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
1 - 20
|
|
2.
|
ตัวขับเคลื่อนความตั้งใจชอปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่อง: เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์, เจเนอเรชัน X, Y และ Z
อมรรัตน์ ท้วมรุ่งโรจน์
ภาษาที่ใช้ในบทความ
แสดงบทคัดย่อ
แสดงวิธีการอ้างอิง
โลกาภิวัตน์ผลักดันการเติบโตในธุรกิจระหว่างประเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค (B2C) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบตัวขับเคลื่อนความตั้งใจของผู้บริโภคไทยในการชอปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่องในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชัน X, Y และ Z หลังจากการการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ผู้วิจัยใช้วิธีวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้จากข้อมูลที่เก็บโดยแบบสอบถามออนไลน์จากผู้บริโภคชาวไทย 851 คน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความเสี่ยงในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลอย่างมากต่อความไว้วางใจตามมาด้วยแรงจูงใจที่เน้นประโยชน์ใช้สอย และแรงจูงใจที่เน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์มีผลเพียงเล็กน้อย จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดแรงจูงใจที่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นตัวขับเคลื่อนที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความตั้งใจในการชอปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่องในขณะที่ความไว้วางใจมีผลกระทบน้อยที่สุด ในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์แรงจูงใจที่เน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด แรงจูงใจที่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในเจเนอเรชัน X, Y และ Z และเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สำคัญต่อผู้บริโภคเจเนอเรชัน X ความไว้วางใจไม่มีความสำคัญต่อเจเนอเรชัน X และ Y โดยรวมความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญมีเพียงเล็กน้อยระหว่างเจเนอเรชัน X และ Z
ซ่อนบทคัดย่อ
|
อมรรัตน์ ท้วมรุ่งโรจน์ (2564). ตัวขับเคลื่อนความตั้งใจชอปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่อง: เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์, เจเนอเรชัน X, Y และ Z. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 168, 21 - 46.
Amonrat Thoumrungroje (2021). Drivers of E-Commerce Continuance Intention: A Comparison across Baby Boomers, Generations X, Y, and Z in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 168, 21 - 46.
ซ่อนวิธีการอ้างอิง
|
|
21 - 46
|
|
|
|